วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

แนะนำตัว

GEN 1102 เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
Section: AD
รหัสนักศึกษา : 571758054
ชื่อ : นางสาวพัชรินทร์ จันทร์หอม
เอกแพทย์แผนไทย ฯ



วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

          การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น เริ่มต้นโดยการนำมาใช้ทำงานแทนงานประจำวัน
เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ซี่งเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมหาศาลจนถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการ
ทำงานและการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน โดยพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสรุปได้
ดังนี้
          ถนอมขวัญ ฉิมพาลีและศิริภัสสร ภมู ประพัทธ์ (http://www.thaigoodview.com/node/
55499, 2556) ได้กล่าวถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ดังนี้

          ยุคที่ 1 ระบบการประมวลผลข้อมูล (ค.ศ. 1950 – 1960)
ยุคนี้เป็นยุคแรก ๆ ของการนาำคอมพิวเตอร์มาใช้งานบทบาทของคอมพิวเตอร์ยังเป็น
บทบาทที่ง่าย ๆ เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงานประจำที่ใช้มนุษย์ปฏิบัติ เช่น การทำบัญชี
การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ


ภาพที่ 1.19 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานประจำ
ที่มา : (การใช้คอมพิวเตอร์. www.probiztechnologies.com. 2557)

          ยุคที่ 2 ระบบสร้างรายงานสำหรับผู้บริหาร (ค.ศ.1960-1970)
หลังจากการนำเอาคอมพิวเตอร์มาประมวลผลงานรายการต่าง ๆ ได้มีการเพิ่มบทบาท
ของคอมพิวเตอร์มาช่วยงานของผู้บริหาร โดยเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์สร้างรายงาน การปฏิบัติงาน
ต่างๆ ที่มีการกำหนดรูปแบบรายละเอียดไว้ล่วงหน้า เป็นการสรุปผลการทำงานสำหรับผู้บริหารเพื่อ
ประกอบการตัดสินใจ เช่น รายงานยอดขาย ประจาสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี รายงาน
รายได้รายจ่ายขององค์กรหรือธุรกิจ เป็นต้น


ภาพที่ 1.20 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างรายงาน
ที่มา : (การสร้างรายงาน. www.wilsonhenry.co.uk. 2557)

          ยุคที่ 3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (ค.ศ.1970-1980)
ต่อมาผู้บริหารพบว่ารายงานที่มีการกำหนดรายละเอียดไว้ก่อนเพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่
เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร จึงเริ่มมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจขึ้นมาเป็น
ระบบที่นามาช่วยในการจำลองเพื่อหาสารสนเทศที่จำเป็นสาหรับผู้บริหาร ซึ่งมักจะเป็นการคำนวณหาค่าที่ต้องการแล้วนำมาพิจารณาประกอบในการตัดสินใจต่าง ๆ บทบาทใหม่นี้เป็นการจัดหาสารสนเทศให้กับผู้บริหาร ณ เวลาที่ต้องการและเป็นแบบที่ผู้บริหารโต้ตอบกับระบบโดยตรงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้จะเป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารแต่ละคนตามความต้องการและวิธีการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ


ภาพที่ 1.21 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้สนับสนุนการตัดสินใจ
ที่มา : (DSS. http://wiki.esipfed.org. 2557)

          ยุคที่ 4 บทบาทที่หลากหลาย (ค.ศ.1980-1990)
               ระยะแรกสุด เป็นแบบผู้ใช้ปลายทางพัฒนาเอง (End User Computing) โดยผู้ใช้ระบบ
สารสนเทศใช้ระบบคอมพิวเตอร์และทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมาสนับสนุน
งานที่ตัวเองต้องการแทนการรอคอยให่ฝ่ายพัฒนาระบบขององค์กรพัฒนาให้
               ระยะที่สอง มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS : Executive
Information Systems) ขึ้นมาระบบสารสนเทศ EIS นี้ทำให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ
จุดวิกฤติขององค์กรที่ต้องการได้ ณ เวลามี่ตองการและสารสนเทศนั้นถูกจัดอย่ในรูปเเบบที่
ต้องการ

ภาพที่ 1.22 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้สนับสนุนการทำงานของผู้บริหาร
ที่มา : (EIS. www.crowncomputing.co.uk. 2557)
               ระยะที่สาม มีการพัฒนาระบบและการประยุกต์ระบบปัญญาดิษฐ์ (AI : Artificial
Intelligence) เป็นระบบที่นำเอาความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ของผู้รู้มาใส่ในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่
เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ต้องการปรึกษาก็จะสอบถามเข้าไปในระบบ ระบบจะไปค้นหา
วิธีการต่างๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการปฏิบัติต่อปัญหาต่างๆ พร้อมเหตุผล เเสดงออกมาให้ผู้ใช้นำไป
ประกอบการตัดสินใจ


ภาพที่ 1.23 ปัญญาประดิษฐ์
ที่มา : (Artificial Intelligence. www.cs.cmu.edu. 2557)

          ยุคที่ 5 ระบบเครือข่ายสากล (ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน)
ตั้งเเต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา พัฒนาการทางด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นการ
เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เเบบเปิดที่เครือข่ายใด ๆ ในโลกก็สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบได้
เเละยังมีการนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเเบบเดียวกันนี้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร เรียกว่า อินทราเน็ต
(Intranet) และระหว่างองค์กรที่เป็นเครือข่ายพันธมิตร เรียกว่า เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) การดำเนิน
กิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านทางเครือข่ายเป็นไปอย่างกว้างขวาง สะดวก รวดเร็ว เช่น พาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ E-Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าผ่านเครือข่าย
ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินธุรกิจธนาคารทางเครือข่าย หรือเเม้กระทั่งงานบริการจาก
ฝ่ายรัฐบาล ที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government) เป็นต้น



ภาพที่ 1.24 ระบบเครือข่ายสากล
ที่มา : (Network. http://nanlovenan.wordpress.com. 2557)

หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

     หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบไปด้วย 5 ด้านดังต่อไปนี้
          1) การบันทึก (Capture)
          2) การประมวลผล (Processing)
          3) การผลิตสารสนเทศ (Generation)
          4) การเก็บและเรียกใช้ (Storage and Retrieval)
          5) การส่งผ่านสารสนเทศ (Transmission)

ซึ่งแต่ละด้านมีรายละเอียดดังนี้
     4.1 การบันทึก (Capture)
เป็ นการดา เนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อ
การประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้ มเอกสาร หรือด้วยคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทา ได้โดยการ
สังเกต การสัมภาษณ์ การทาแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสารวจ ข้อมูลที่ได้ต้องมี
คุณลักษณะสา คัญ 2 ประการ คือ ตรงตามความต้องการที่กา หนดไว้ และมีความเชื่อถือได้
     4.2 การประมวลผล (Processing)
อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
          4.2.1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้
สาหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้ม
ประวัตินักเรียน และแฟ้ มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หนา้ เหลืองมีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการ
เพื่อความสะดวกในการค้นหา
          4.2.2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูล
ตามลา ดับตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียง
ข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลาดับตัวอักษร
การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทา ให้คน้ หาได้ง่าย
          4.2.3. การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจา นวนมาก จา เป็ นต้องมีการสรุปผล
หรือสร้างรายงานสรุปเพื่อนา ไปใช้ประโยชน์ ขอ้ มูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น
สถิติจา นวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
          4.2.4. การคานวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจานวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่
สามารถนา ไปคา นวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการ
คา นวณข้อมูลที่เก็บไว้ดว้ ย
     4.3 การผลิตสารสนเทศ (Generation)
การผลิตสารสนเทศเริ่มจากการรับข้อมูลนาเข้า (Input Data) เพื่อนาไปประมวลผล
(Processing) ทา ให้เป็นสารสนเทศ (Information Output) ที่จะนา ใช้ประโยชน์ในการดา เนินงาน
ด้านต่างๆ ได้
     4.4 การเก็บและเรียกใช้ (Storage and Retrieval)
การจัดเก็บ (Storage) จัดเก็บไว้ในสื่อต่างๆ ถ้าเป็นการจัดการด้วยคอมพิวเตอร์เก็บไว้ใน
สื่อบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก เป็นต้น
การเรียกใช้ (Retrieval) เป็นกระบวนการค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการออกจากสื่อ
บันทึกข้อมูล การเรียกใช้มี 2 วิธีคือ เรียกใช้เพื่อมาปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และเรียกใช้
เพื่อนา ข้อมูลนั้นมาใช้งานหรือเพื่อให้บริการและคา ตอบแก่ผู้ใช้
     4.5 การส่งผ่านสารสนเทศ (Transmission)
คือการส่งผ่านสารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทา ในแบบเอกสารหรือรายงาน
หรือการเสนอบนจอภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสาคัญคือการกาหนดและออกแบบรายงาน
สารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          วิโรจน์ ชัยมูลและสุพรรษา ยวงทอง(2552, หน้า 223-226) ได้กล่าวว่า การประยุกต์ใช้งาน
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากในหลายด้าน
ดังต่อไปนี้

1 ด้านเศรษฐกิจ
          ในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานการเงิน การธนาคาร มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานหลักของธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ แช่น
การฝากถอนเพื่อทำ รายการด้านการเงินของธนาคาร มีระบบการทำรายการที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่าง
สาขาย่อยของแต่ละธนาคาร มีการนำเอาตู้เอทีเอ็ม (ATM : Automatic Teller Machine) ติดตั้งเพื่อ
ให้บริการลูกค้าของธนาคารตามแหล่งชุมชนต่างๆ มากมาย รวมถึงการขยายสาขาการรับฝากถอน
เงินไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากยิ่งขึ้น ในวงการ
ตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน มีการนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยวิเคราะห์และแนะนาการ
ลงทุน การตรวจสอบข้อมูลกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วได้แบบ real time รวมถึงการส่งคา สั่งซื้อขาย
หลักทรัพย์สำหรับนักลงทุนที่สะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น


ภาพที่ 1.13 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านเศรษฐกิจ
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านเศรษฐกิจ. http://peane2.pea.co.th. 2557)

3.2 ด้านสังคม
          เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และทำให้คนใน
สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเข่น โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตาม
พระราชดาริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน มีการมอบเครื่อง
คอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ต้องขัง รวมถึงการนำเอา
เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเหลือคนตาบอดเพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้ เช่น หนังสือเสียง
ระบบ DAISY (Digital Accessible Information System) ที่มีการบันทึกข้อมูลของหนังสือเป็นระบบ
เสียงในแบบดิจิตอล ช่วยให้คนตาบอดสามารถค้นหาข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว และละเอียด
สามารถก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือได้ เช่น ตอน บท ย่อหน้า ประโยคหรือคำ ซึ่งจะ
เห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่วนช่วยลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนในสังคมได้เป็นอย่างดี


ภาพที่ 1.14 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านสังคม
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม. www.oknation.net. 2557)

3.3 ด้านการศึกษา
          ในยุคก่อนหน้าที่จะมีเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนอาจมี
อุปสรรคบ้างสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาเรียนหรือศึกษายังสถาบันที่เปิดสอนจริงๆ ได้
โดยเฉพาะนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร และอาจเกิดปัญหาความเหลื่อมล้า ทางด้านการศึกษาตามมา
แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าช่วยลดปัญหานี้บ้างแล้ว แม้จะยังไม่แพร่หลายมากนักก็ตาม
เช่น การถ่ายทอดสัญญาณรายการสอนผ่านเครือข่ายดาวเทียมสาหรับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารของ
กรมการศึกษานอกโรงเรียน การให้บริการการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรทัศน์และ
วิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช รวมถึงการเปิดหลักสูตรเพื่อสอนใน
ระดับอุดมศึกษาบางสาขาให้กับนักศึกษาที่อยู่ห่างไกลได้เข้ามาเรียน โดยทำ การศึกษา ทบทวน และ
ทดสอบด้วยตนเองผ่านระบบของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีบทบาท
ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทค (NECTEC) ได้เปิดเครือข่าย
เพื่อการศึกษาต่างๆ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้


ภาพที่ 1.15 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการศึกษา
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการศึกษา. http://hmewnook.blogspot.com. 2557)

3.4 ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
          เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การติดต่อและแลกเปลี่ยนทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เราสามารถ
รับส่งข้อมูลประเภทภาพ เสียงหรือวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ ได้ คอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์อื่นสามารถเชื่อมต่อกันผ่าน Bluetooth ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทาได้ง่ายกว่าเดิม การ
เชื่อมต่อเครือข่ายในปัจจุบันก็ไม่จาเป็นต้องลากสายหรือเดินสายให้ยุ่งยาก มีเพียงแต่อุปกรณ์
เชื่อมต่อแบบไร้สาย ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้แล้ว ซึ่งมีใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามบ้านหรือ
สำนักงานต่างๆ เทคโนโลยีของโทรศัพท์ยังทำให้ลดข้อจำกัดเรื่องของสถานที่ลงไปได้ด้วย คนที่อยู่
ต่างท้องที่ สามารถพูดคุยสื่อสารหรือโต้ตอบกันได้ โดยที่ไม่จาเป็นต้องไปพบปะกันจริงๆ
นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังทำให้เกิดเครือข่ายใหม่ๆ อย่างอินเตอร์เน็ต ที่เข้าถึงคนได้ทั่ว
โลกง่ายเพียงปลายคลิก ซึ่งก่อให้เกิดกิจกรรมและผลประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย


ภาพที่ 1.16 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
ที่มา : (การสื่อสารโทรคมนาคม. www.businessoctane.com. 2557)

3.5 ด้านสาธารณสุข
          มีการเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาผู้ป่วยที่
เรียกว่า “โครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine)” ซึ่งเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางด้านการ
สื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมอัน
ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณดาวเทียมหรือใยแก้วนำแสงแล้วแต่กรณี ควบคู่ไปกับระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียงทำ
ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ทั้งทางด้านภาพ เช่น ฟิล์มเอกซ์เรย์
และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจ คลื่นหัวใจ พร้อมๆ กันกับการ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการปรึกษาเสมือนคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน ทำให้ประสิทธิภาพใน
การรักษาคนไข้ดีมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การแพทย์
ทางไกลนี้ยังได้นำเอามาประยุกต์ใช้กับการถ่ายทอดการเรียนการสอนและการประชุมวิชาการ
ทางการแพทย์ให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย


ภาพที่ 1.17 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านสาธารณสุข
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสาธารณสุข. http://arm8loei.blogspot.com. 2557)

3.6 ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
          การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) หรือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เข้ามาจัดเก็บ
และประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground
position) ซึ่งรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์
อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม


ภาพที่ 1.18 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มา : (GIS. www.italomairo.com. 2557)

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 (2546, หน้า 534) เทคโนโลยี หมายถึง
วิทยาการที่นำ เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรมTurban et al. (2006, p. 21) อ้างใน รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์ (2549, หน้า 14) ได้กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ชุดของระบบคอมพิวเตอร์ ที่นำใช้ภายในองค์กร หรืออีกนัยหนึ่งคือ เทคโนโลยีพื้นฐานของระบบสารสนเทศทประกอบไปด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูลเครือข่ายโทรคมนาคม รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยถูกนามาใช้เพื่อจุดประสงค์ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฎฐพันธ์ เขจรนันทร์ (2551, หน้า 13) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผนจัดการ และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งอุปกรณ์สนับสนุนอืนๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการชีวิตประจำวันของมนุษย์