บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิโรจน์ ชัยมูลและสุพรรษา ยวงทอง(2552, หน้า 223-226) ได้กล่าวว่า การประยุกต์ใช้งาน
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากในหลายด้าน
ดังต่อไปนี้
1 ด้านเศรษฐกิจ
ในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานการเงิน การธนาคาร มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานหลักของธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ แช่น
การฝากถอนเพื่อทำ รายการด้านการเงินของธนาคาร มีระบบการทำรายการที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่าง
สาขาย่อยของแต่ละธนาคาร มีการนำเอาตู้เอทีเอ็ม (ATM : Automatic Teller Machine) ติดตั้งเพื่อ
ให้บริการลูกค้าของธนาคารตามแหล่งชุมชนต่างๆ มากมาย รวมถึงการขยายสาขาการรับฝากถอน
เงินไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากยิ่งขึ้น ในวงการ
ตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน มีการนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยวิเคราะห์และแนะนาการ
ลงทุน การตรวจสอบข้อมูลกับตลาดหลักทรัพย์ทั่วได้แบบ real time รวมถึงการส่งคา สั่งซื้อขาย
หลักทรัพย์สำหรับนักลงทุนที่สะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 1.13 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านเศรษฐกิจ
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านเศรษฐกิจ. http://peane2.pea.co.th. 2557)
3.2 ด้านสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และทำให้คนใน
สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเข่น โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตาม
พระราชดาริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน มีการมอบเครื่อง
คอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ต้องขัง รวมถึงการนำเอา
เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเหลือคนตาบอดเพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้ เช่น หนังสือเสียง
ระบบ DAISY (Digital Accessible Information System) ที่มีการบันทึกข้อมูลของหนังสือเป็นระบบ
เสียงในแบบดิจิตอล ช่วยให้คนตาบอดสามารถค้นหาข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว และละเอียด
สามารถก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือได้ เช่น ตอน บท ย่อหน้า ประโยคหรือคำ ซึ่งจะ
เห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่วนช่วยลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนในสังคมได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 1.14 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านสังคม
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม. www.oknation.net. 2557)
3.3 ด้านการศึกษา
ในยุคก่อนหน้าที่จะมีเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนอาจมี
อุปสรรคบ้างสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาเรียนหรือศึกษายังสถาบันที่เปิดสอนจริงๆ ได้
โดยเฉพาะนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร และอาจเกิดปัญหาความเหลื่อมล้า ทางด้านการศึกษาตามมา
แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าช่วยลดปัญหานี้บ้างแล้ว แม้จะยังไม่แพร่หลายมากนักก็ตาม
เช่น การถ่ายทอดสัญญาณรายการสอนผ่านเครือข่ายดาวเทียมสาหรับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารของ
กรมการศึกษานอกโรงเรียน การให้บริการการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรทัศน์และ
วิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช รวมถึงการเปิดหลักสูตรเพื่อสอนใน
ระดับอุดมศึกษาบางสาขาให้กับนักศึกษาที่อยู่ห่างไกลได้เข้ามาเรียน โดยทำ การศึกษา ทบทวน และ
ทดสอบด้วยตนเองผ่านระบบของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีบทบาท
ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทค (NECTEC) ได้เปิดเครือข่าย
เพื่อการศึกษาต่างๆ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ภาพที่ 1.15 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการศึกษา
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการศึกษา. http://hmewnook.blogspot.com. 2557)
3.4 ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การติดต่อและแลกเปลี่ยนทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เราสามารถ
รับส่งข้อมูลประเภทภาพ เสียงหรือวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ ได้ คอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์อื่นสามารถเชื่อมต่อกันผ่าน Bluetooth ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทาได้ง่ายกว่าเดิม การ
เชื่อมต่อเครือข่ายในปัจจุบันก็ไม่จาเป็นต้องลากสายหรือเดินสายให้ยุ่งยาก มีเพียงแต่อุปกรณ์
เชื่อมต่อแบบไร้สาย ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้แล้ว ซึ่งมีใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามบ้านหรือ
สำนักงานต่างๆ เทคโนโลยีของโทรศัพท์ยังทำให้ลดข้อจำกัดเรื่องของสถานที่ลงไปได้ด้วย คนที่อยู่
ต่างท้องที่ สามารถพูดคุยสื่อสารหรือโต้ตอบกันได้ โดยที่ไม่จาเป็นต้องไปพบปะกันจริงๆ
นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังทำให้เกิดเครือข่ายใหม่ๆ อย่างอินเตอร์เน็ต ที่เข้าถึงคนได้ทั่ว
โลกง่ายเพียงปลายคลิก ซึ่งก่อให้เกิดกิจกรรมและผลประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย
ภาพที่ 1.16 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
ที่มา : (การสื่อสารโทรคมนาคม. www.businessoctane.com. 2557)
3.5 ด้านสาธารณสุข
มีการเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาผู้ป่วยที่
เรียกว่า “โครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine)” ซึ่งเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางด้านการ
สื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมอัน
ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณดาวเทียมหรือใยแก้วนำแสงแล้วแต่กรณี ควบคู่ไปกับระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียงทำ
ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ทั้งทางด้านภาพ เช่น ฟิล์มเอกซ์เรย์
และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจ คลื่นหัวใจ พร้อมๆ กันกับการ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการปรึกษาเสมือนคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน ทำให้ประสิทธิภาพใน
การรักษาคนไข้ดีมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การแพทย์
ทางไกลนี้ยังได้นำเอามาประยุกต์ใช้กับการถ่ายทอดการเรียนการสอนและการประชุมวิชาการ
ทางการแพทย์ให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย
ภาพที่ 1.17 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านสาธารณสุข
ที่มา : (เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสาธารณสุข. http://arm8loei.blogspot.com. 2557)
3.6 ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) หรือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เข้ามาจัดเก็บ
และประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground
position) ซึ่งรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์
อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม
ภาพที่ 1.18 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มา : (GIS. www.italomairo.com. 2557)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น